อุณหภูมิคือคุณสมบัติทางกายภาพของสสารที่แสดงปริมาณร้อนและเย็น นั่นคือการมีอยู่ของพลังงานความร้อนหรือความเย็นของสารหรือวัตถุโดยอ้างอิงถึงค่ามาตรฐาน องศาอุณหภูมิหรือหน่วยวัดอุณหภูมิซึ่งสามารถวัดปริมาณโดยอุปกรณ์สำหรับวัดอุณหภูมิหรือเทอร์โมมิเตอร์และแสดงผลเป็นค่าที่มนุษย์เข้าใจได้ง่าย
เราสามารถวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมมิเตอร์ซึ่งเพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำเครื่องวัดจะถูกสอบเทียบที่อุณหภูมิต่างๆ
องศาอุณหภูมิและหน่วยวัดอุณหภูมิ
หน่วยการวัดค่าความร้อนหรืออุณหภูมิโดยทั่วไปมี 5 หน่วยได้แก่
- 1) องศาเซลเซียสเขียนย่อว่า °C (Celsius)
- 2) เคลวินเขียนย่อ K (Kelvin)
- 3) องศาฟาเรนไฮต์เขียนย่อว่า °F (Fahrenheit)
- 4) องศาแรนคิน Rankine (เขียนย่อเป็น ° R, ° Ra)
- 5) องศา Réaumur (เขียนย่อเป็น °Ré, ° Re)
รายละเอียดของหน่วยอุณหภูมิมีดังต่อไปนี้
1) องศาเซลเซียส (°C) เป็นที่นิยมมากที่สุดโดยเปรียบกับอุณหภูมิของน้ำบริสุทธิ์ จุดเยือกแข็งของน้ำตั้งไว้ที่ 0 องศาเซลเซียสและจุดเดือดที่ 100 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 1 บรรยากาศ
2) หน่วย SI ของอุณหภูมิตามระบบหน่วยสากลคือเคลวิน (K) เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณด้านวิทยาศาสตร์ และ 0 เคลวินในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงอุณหภูมิที่เป็น 0 จริงๆ แม้กระทั่งอะตอมจะไม่เคลื่อนที่ แต่อย่างไรก็ตามองศาเซลเซียสก็มักจะเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับวัดอุณหภูมิในประเทศไทย
3) องศาฟาเรนไฮต์ (°F) นิยมใช้กันอยู่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษโดยน้ำเดือดที่ 212 องศาฟาเรนไฮต์และเป็นน้ำแข็งที่ 32 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่จำจำได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับองศาเซลเซียสซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก
4) ยังมีหน่วยวัดอีกหน่วยที่น้อยคนที่รู้จักคือแรนคิน Rankine (เขียนย่อเป็น ° R, ° Ra) หน่วยนี้ถูกนำเสนอโดย Scottish William Rankine ปีค.ศ 1859 หน่วยนี้ไม่นิยมที่ใช้กัน แต่มักถูกใช้ในบางสาขาของเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกา แต่หน่วยงาน NIST (National Institute of Standards and Technology) ซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานไม่แนะนำให้ใช้หน่วย Rankine อีกต่อไป
5) องศา Réaumur (°Ré, ° Re) นำเสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Réne de Réaumurในปีค.ศ. 1730 โดยมีจุดอ้างอิงเป็นจุดเยือกแข็งของน้ำ 0 °Ré และจุดเดือดของน้ำที่ 80 °Ré องศา Réaumur ถูกนำมาใช้ในบางส่วนของยุโรปและรัสเซีย แต่ได้หายไปและไม่ถูกใช้ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
การเปลี่ยนหน่วยการวัดอุณหภูมิองศาเซลเซียส เคลวินและองศาฟาเรนไฮต์ให้ใช้สูตรดังรูปต่อไปนี้
เมื่ออักษร C = องศาเซลเซียส ขณะที่ F = องศาฟาเรนไฮต์ และ K = เคลวิน
เครื่องมือวัดอุณหภูมิความร้อน
ด้วยเทคโนโลยีของการวัดอุณหภูมิมีการรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันสามารถวัดได้อย่างแม่นยำ รวดเร็วและสามารถเปลี่ยนหน่วยการวัดได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการคำนวณใดๆ เครื่องมือมีหลายชนิด บางชนิดวัดอุณหภูมิจากการสัมผัสกับวัตถุ บางชนิดวัดจากรังสีอินฟราเรด (รังสีความร้อน) ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องวัดวัดอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน ช่วงการวัดอุณหภูมิที่ต้องการ ความแม่นยำและรายละเอียดปลีกย่อยเช่นการบันทึกข้อมูล หน่วยความจำภายในเป็นต้น รายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นเครื่องมือวัดเทอร์โมมิเตอร์ที่ได้รับความนิยมดังรายละเอียดด้านล่าง
สินค้าแนะนำยอดนิยม
ประโยชน์ของอุปกรณ์วัดอุณหภูมิได้แก่การใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และกระบวนการผลิตเพื่อวัดอุณหภูมิของโลหะ ของเหลว ก๊าซและวัสดุอื่นๆ และยังสามารถวัดอุณหภูมิอาหารขณะทำอาหาร เครื่องวัดมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับขอบเขตการใช้งานและกลไกที่เกี่ยวข้อง เราจะบอกคุณเกี่ยวกับเครื่องวัดแบบทั่วไป นอกจากนี้คุณจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องวัดอุณหภูมิมีกี่ประเภทที่ใช้วัดอุตสาหกรรมต่างวัดอุณหภูมิร่างกาย วัดไข้เป็นต้น
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดอุณหภูมิ
รู้จักกับอุณหภูมิห้อง (Room Temperature)
นิยามของอุณหภูมิห้อง (Room Temperature) คืออุณหภูมิห้องสำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์และกระบวนการบางอย่างในอุตสาหกรรม และการจัดเก็บสินค้าอุปโภคบริโภคตัวอย่างเช่นสำหรับการขนส่ง
ประเภทและชนิดของเครื่องวัดอุณหภูมิ
หลักการของเทอร์โมมิเตอร์คือการวัดอุณหภูมิของสิ่งต่างๆ เพื่อรับรู้ข้อมูลอุณหภูมิ ดังนี้นก่อนการเลือกซื้อจึงควรเข้าใจถึงประเภทของเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดต่างๆ เพื่อจะได้เลือกซื้อได้เหมาะสมสำหรับการใช้าน
สรูป
- 1. อุณหภูมิคือคุณสมบัติทางกายภาพของสสารที่แสดงปริมาณร้อนและเย็น
- 2. องศาเซลเซียสเป็นที่นิยมมากที่สุด
- 3. เคลวิน (K) เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณด้านวิทยาศาสตร์
0 Comment