สำหรับในประเทศไทยกฎหมายระดับความดังของเสียงที่ใช้กันทั่วไป มีหลายฉบับขึ้นอยู่กับที่มาของแหล่งกำเนิดเสียงเช่นในที่พักอาศัย ในโรงงานอุตสาหกรรมและเสียงดังจากการจราจร มีข้อกฎหมายที่แตกต่างกันไป ระดับหรือขีดจำกัดของเสียงที่อนุญาตมักถูกกำหนดโดยข้อบังคับของประเทศ
1.สำหรับบ้านพักอาศัย
1.1 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กําหนด มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
ข้อ 2 ให้กําหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ไว้ดังต่อไปนี้
- (1) ค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ
- (2) ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ
วิธีการคำนวณค่าระดับเสียงเฉลี่ยดูเพิ่มเติมได้ที่ www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/06/pcdnew-2023-02-02_02-27-39_405433.pdf
2.สำหรับสถานที่ทำงาน
มาตรฐาน และกฏหมาย “เสียงดัง” ในที่ทำงาน
2.1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549
ข้อ 8 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้
ข้อ 9 ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impact or Impulse Noise) เกินหนึ่งร้อยสี่สิบเดซิเบลเอ หรือมีปริมาณเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดทำงานจนกว่าจะได้ปรับปรุงหรือแก้ไขระดับเสียงหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ 10 ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทำงานมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ 8 หรือข้อ 9 ให้นายจ้างดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียงหรือการบริหารจัดการเพื่อให้มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
ในกรณียังดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขตามวรรคหนึ่งไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทำงาน เพื่อลดเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ 8 หรือข้อ 9
ข้อ 11 ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ 8 หรือข้อ 9 นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน
ข้อ 12 ในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
3.สถานที่อื่นๆ
3.1 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดเสียงดังจากสถานประกอบการต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต้องมีหน้าที่กำจัดเสียง และความสั่นสะเทือนในโรงงานไม่ให้เป็นที่เดือดร้อน เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง และดูแลรักษาระบบเก็บเสียงให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดเวลา
3.2 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ เฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวันมิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งถ้าเกินมาตรฐานต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดหรือทางผ่านของเสียงเพื่อไม่ให้ระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
3.3 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2531) เรื่องกำหนดรายละเอียดการตรวจสภาพรถยนต์ที่จะจดทะเบียนได้ ว่าต้องผ่านการตรวจระบบการกรองเสียงด้วย
3.4. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยการห้ามมิให้นำรถที่มีเสียงดังซึ่งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนรำคาญมาใช้ในทางเดินรถ นอกจากนั้นยังมีการประกาศกำหนดเกณฑ์เสียงที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถยนต์อีกด้วย
ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก กำหนดให้แตรรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต้องเมีเสียงดังไกลเกินระยะ 60 เมตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และ มาตรา 14 การบีบแตรควรใช้เมื่อจำเป็นหรือใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่ควรบีบยยาว ๆ หรือบีบซ้ำเกินจำเป็นหากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท
3.5 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสภาพ เครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบของรถ เช่น มีเครื่องระงับเสียง มีเครื่องยนต์และเสียงแตรที่ไม่ทำให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
นอกจากนั้นห้ามนำเสียงแตรที่มีเสียงทำให้เกิดความรำคาญหรือรบกวนสาธารณชนมาใช้ ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับและไม่อาจนำรถดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือต่อทะเบียนได้
เครื่องวัดเดซิเบล (Decibel) รุ่นแนะนำ
สามารถวัดระดับเสียงเดซิเบลโดยรอบเช่นระดับเสียงรอบโรงงาน โรงเรียน ที่อยู่อาศัย สำนักงาน โรงพยบาลและถนน ฯลฯ
- 1.ย่านการวัดวัดที่ 30dBA~130dBA
- 2.ความถูกต้องของ ± 1.5 dB
- 3.ความละเอียด 0.1dB
- 4.มาตราฐาน IEC651 Type 2 and ANSI S1.4 Type 2
0 Comment