อินฟราเรดคือพลังงานรังสี

อินฟราเรดคือ

อินฟราเรด (IR) คือพลังงานรังสีชนิดหนึ่งที่ตามนุษย์มองไม่เห็น แต่เรารู้สึกได้ว่าเป็นความร้อน วัตถุทั้งหมดในจักรวาลปล่อยรังสีอินฟาเรดออกมาในระดับหนึ่ง แต่แหล่งที่มาที่ชัดเจนที่สุด 2 แหล่งคือดวงอาทิตย์และกองไฟ อินฟาเรดเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งเป็นความถี่ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมดูดซับแล้วปล่อยพลังงาน จากความถี่สูงสุดไปต่ำสุด รังสีแม่เหล็กไฟฟ้ารวมถึงรังสีแกมมา รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต แสงที่มองเห็น รังสีอินฟาเรด ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุ ทั้งหมดนี้ประกอบกันเป็นสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า

Thermometer คืออะไร

Thermometer คือเครื่องมือวัดอุณหภูมิ

Thermometer คือเครื่องวัดระดับอุณหภูมิอุปกรณ์หรือระดับความร้อนหรือความเย็นของวัตถุ ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเพื่อตรวจสอบกระบวนการในงานด้านต่างๆ ได้แก่อุตุนิยมวิทยา การแพทย์และในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มีสินค้าหลายประเภทในปัจจุบัน ก่อนตัดสินใจซื้อสิ่งสำคัญคือคุณต้องทราบถึงหลักการทำงานในเบื้องต้นและพิจารณาความเหมาะสมของเทอร์มอมิเตอร์แต่ละประเภทสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน

เทอร์มอมิเตอร์

รู้จักเทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer)

เทอร์มอมิเตอร์เป็นที่ใช้ในการวัดระดับอุณหภูมิ เป็นอุปกรณ์สากล อุณหภูมิและความร้อนเป็นคำสองคำที่มักทำให้ผู้คนสับสนตัวอย่างเช่นอธิบายความร้อนของวัตถุได้อย่างไร? อะไรเป็นตัววัดหรือพื้นฐานสำหรับความร้อนนั้น? คำตอบคืออุณหภูมิและความร้อนเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งและหน่วยของพลังงานคือจูล ในทางกลับกันอุณหภูมิคือตัวชี้วัดความร้อนนั้นซึ่งหมายความว่าถ้าความร้อนมากขึ้นอุณหภูมิก็จะมากขึ้นด้วย โดยเราใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเทอร์มอมิเตอร์เพื่อวัดวัตถุต่างๆ

เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก

เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก (Forehead thermometer)

อุปกรณ์วัดอุณหภูมิหน้าผากเป็นวิธีที่อ่อนโยนในการวัดอุณหภูมิของทุกคนและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเด็กที่ป่วย เครื่องเทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิหน้าผากประเภทนี้มีความแม่นยำรวดเร็ว หลักการทำงานของเครื่องมือวัดอุณหภูมิหน้าผากแบบอินฟราเรดส่วนใหญ่คือการดูดซับพลังงานรังสีอินฟราเรดของเป้าหมายเพื่อให้ได้ค่าอุณหภูมิ ดังนั้นการวัดอุณหภูมิจะได้รับผลกระทบจากเงื่อนไขต่างๆ รวมถึงระยะห่างของการวัดและอุณหภูมิโดยรอบ

เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย

เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟราเรด

เครื่องเทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟราเรดที่ดีที่สุดสำหรับการวัดอุณหภูมิร่างกายคือเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบเลเซอร์ที่ผลิตโดยบริษัทที่เชื่อถือได้และมีประสบการณ์มากมายในการวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดแบบอินฟราเรดนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในการวัดอุณหภูมิจากระยะไกลโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับบุคคลเพื่อคัดกรองผู้คนจำนวนมากเพื่อตรวจจับผู้ที่อาจป่วยและมีอุณหภูมิสูง

การใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด

การใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด (Infrared thermometer)

วิธีใช้การใช้งานอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์มีการใช้งานทั่วไปมากมาย ลำแสงเลเซอร์มีประโยชน์ในการควบคุมตำแหน่งของวัตถุ เครื่องวัดนี้วัดอุณหภูมิของวัตถุในพื้นที่เป็นอันตรายเกินกว่าที่จะสัมผัสหรือเข้าถึงได้ ในการอ่านค่าความร้อนจากวัตถุเป้าหมายคุณต้องรู้วิธีใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

การเลือกซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด

รู้จักที่วัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer)

ที่วัดอุณหภูมิอินฟราเรดเป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสที่ตรวจจับการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุโดยที่เซ็นเซอร์ประกอบด้วยเลนส์เพื่อโฟกัสพลังงานอินฟราเรด (IR) ไปยังเครื่องตรวจจับซึ่งจะแปลงพลังงานเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถแสดงในหน่วยของอุณหภูมิหลังจากได้รับการชดเชยสำหรับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโดยรอบ

ประโยชน์ของเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด

ประโยชน์ของเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด (Infrared Thermometer)

เครื่องวัดอินฟราเรดมีประโยชน์ในการวัดอุณหภูมิของวัตถุจากระยะที่ปลอดภัยโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสวัตถุ เครื่องวัดให้การอ่านค่าอุณหภูมิโดยพิจารณาจากการแผ่รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากวัตถุและมาพร้อมกับข้อดีที่น่าสนใจมากมาย อินฟราเรดเทอร์มอมิเตอร์นี้ยังมีประโยชน์สำหรับการใช้งานไฟฟ้า งานซ่อมบำรุง อุตสาหกรรมอาหารข้อมูลด้านล่างนี้คือประโยชน์บางประการของการใช้เครื่องวัดแบบอินฟราเรด

รู้จักกับอินฟราเรด (Infrared)

รู้จักกับอินฟราเรดคือ (Infrared)

อินฟราเรด (IR) หรือแสงอินฟราเรดคือพลังงานรังสีชนิดหนึ่งที่ตามนุษย์มองไม่เห็น แต่เรารู้สึกได้ว่าเป็นความร้อน วัตถุทั้งหมดในจักรวาลปล่อยรังสีอินฟราเรด ออกมาในระดับหนึ่งแต่แหล่งที่มาที่ชัดเจนที่สุดสองแหล่งคือดวงอาทิตย์และหลอดไฟ อินฟราเรดเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งเป็นความถี่ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมดูดซับแล้วปล่อยพลังงาน จากความถี่สูงสุดไปต่ำสุดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้ารวมถึงรังสีแกมมา รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต แสงที่มองเห็น รังสีอินฟราเรด ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุ รังสีประเภทนี้ประกอบกันเป็นสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า

เซ็นเซอร์อุณหภูมิ

เซ็นเซอร์อุณหภูมิ

เซ็นเซอร์อุณหภูมิ (Temperature Sensor) มีความแตกต่างกันไปตั้งแต่อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิแบบธรรมดาไปจนถึงเซมิคอนดักเตอร์ประเภทที่มีความไวสูงซึ่งสามารถควบคุมกระบวนการที่ซับซ้อนได้ จากชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนกล่าวว่าการเคลื่อนที่ของโมเลกุลและอะตอมก่อให้เกิดความร้อน (พลังงานจลน์) และยิ่งการเคลื่อนที่มากเท่าไหร่ความร้อนก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิจะวัดปริมาณพลังงานความร้อนหรือแม้แต่ความเย็นที่สร้างขึ้นโดยวัตถุหรือระบบทำให้เราสามารถ “รับรู้” หรือตรวจจับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของอุณหภูมินั้นได้ทั้งแบบอนาล็อกหรือดิจิตอล

เทอร์โมมิเตอร์อาหาร

เทอร์โมมิเตอร์อาหาร

ในการปรุงอาหารและวัดอุณหภูมิเนื้อสัตว์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะไม่ต้องคาดเดาในการปรุงอาหารเนื่องจากการวัดอุณหภูมิภายในเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกที่ปรุงสุกหรือหม้อปรุงอาหารใดๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีระดับอุณหภูมิที่ปลอดภัยเพื่อทำลายแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและอาหารของกำลังปรุงอย่างสมบูรณ์แบบ เทอโมมิเตอร์เครื่องวัดอุณหภูมิอาหารเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจสอบอุณหภูมิเพื่อให้แน่ใจว่าได้อุณหภูมิภายในที่เหมาะสมและปลอดภัย เทอร์มอมิเตอร์บางตัวจะถูกใส่เข้าไปในอาหารในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการปรุงอาหารและยังคงอยู่ที่นั่นจนกว่าอุณหภูมิภายในที่เหมาะสม

ประโยชน์ของเทอร์โมมิเตอร์

ประโยชน์ของเทอร์โมมิเตอร์

เทอโมมิเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่แบบสัมผัส (Contact) และแบบไม่สัมผัส (Non Contact) ในเทอร์มอมิเตอร์แบบสัมผัสจะมีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิอยู่ภายใน เทอร์มอมิเตอร์แบบสัมผัสจะวัดอุณหภูมิโดยใช้ปรากฏการณ์การถ่ายเทความร้อนที่เรียกว่า “การนำ” ดังนั้นจึงต้องการการสัมผัสกับวัตถุที่วัด ในขณะที่ทำการวัดแบบไม่สัมผัสจะใช้เซ็นเซอร์อินฟราเรดใช้เพื่อวัดอุณหภูมิของวัตถุโดยการอ่านระดับการปล่อยรังสีอินฟราเรด

เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล

เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลคือ

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งได้ทำการปรับปรุงจากแบบใช้ปรอทเหลวแบบเดิมๆ ในอดีต เทอโมมิเตอร์ปรอทเหลวแบบดั้งเดิมได้รับความนิยมเป็นครั้งแรกผ่านการพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 (คศ. 17xx-18xx) และยังคงไม่เปลี่ยนแปลงโดยหลักการพื้นฐาน จนถึงยุคของการพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์จึงได้มีการรประดิษฐ์เทอร์มิสเตอร์ที่ใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์ในช่วง คศ.1930 เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลสมัยใหม่ทำงานบนหลักการทางความร้อนที่แตกต่างจากอดีต และมีข้อดีที่สำคัญหลายประการทำให้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลเหมาะกับการใช้งานทุกรูปแบบในอุตสาหกรรมและการใช้งานที่หลากหลาย

เทอร์โมมิเตอร์สำหรับเตาอบ

เทอร์โมมิเตอร์เตาอบสำหรับการวัดอุณหภูมิอาหาร

เทอโมมิเตอร์เตาอบเป็นอุปกรณ์ที่ดีในครัวของคุณ ในระยะยาว การลงทุนซื้อเครื่องวัดเตาอบที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณรอดพ้นจากฝันร้ายในครัว แต่ยังช่วยให้คุณเสิร์ฟอาหารที่ดีที่สุดสำหรับคนที่คุณรักอีกด้วย เทอร์มอมิเตอร์เครื่องวัดอุณหภูมิของเตาอบส่วนใหญ่ออกแบบมาเพื่อให้ยื่นหรือหนีบเข้ากับชั้นวางเตาอบได้อย่างง่ายดาย มีข้อดีข้อเสียของแต่ละรุ่น เตาอบส่วนใหญ่มีจุดร้อนดังนั้นการเคลื่อนเครื่องวัดไปรอบๆ ระหว่างการทดสอบจะทำให้คุณรู้สึกได้ถึงอุณหภูมิที่แตกต่างกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

อุณหภูมิห้อง (Room Temperature)

นิยามของอุณหภูมิห้อง (Room Temperature) คือ

อุณหภูมิห้องคือช่วงอุณหภูมิที่แสดงถึงการอยู่อาศัยที่สะดวกสบายของมนุษย์ ในช่วงอุณหภูมินี้บุคคลจะไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไปเมื่อสวมเสื้อผ้าธรรมดา คำจำกัดความของช่วงอุณหภูมินั้นแตกต่างกันบ้างสำหรับวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเมื่อเทียบกับการควบคุมสภาพอากาศและสำหรับการควบคุมสภาพอากาศช่วงนี้ยังแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาว

เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) คือเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ

เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) คือเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ

เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เป็นตัวต้านทานชนิดหนึ่งที่ไวต่อความร้อนโดยมีค่าความต้านทานขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ โดยเทอร์มิสเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานที่แม่นยำและคำนวณได้ตามสัดส่วนกับการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของอุณหภูมิ ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะตัวจำกัดกระแสไฟเข้าเซ็นเซอร์อุณหภูมิ โดยทั่วไปเทอร์มิสเตอร์จะผลิตโดยใช้ออกไซด์ของโลหะ (Metal Oxide) ด้วยสูตรและเทคนิคที่ได้รับการปรับปรุงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเทอร์มิสเตอร์ NTC สามารถให้ความแม่นยำในช่วงอุณหภูมิกว้างเช่น ± 0.1 °C หรือ ± 0.2 ° C ช่วงอุณหภูมิการทำงานโดยทั่วไปของเทอร์มิสเตอร์คือ −55 °C ถึง +150 ° C แม้ว่าเทอร์มิสเตอร์บางชนิดจะมีอุณหภูมิในการทำงานสูงสุดที่ +300 ° C

รู้จักเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ

รู้จักเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิคือเครื่องมือวัดระดับอุณหภูมิ

เทอร์โมมิเตอร์คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับอุณหภูมิ (ระดับความร้อนหรือความเย็นของวัตถุ) ซึ่งหน่วยของการวัดคืออุณหภูมิในไห้แก่องศาเซลเซียสเขียนย่อว่า °C (Celsius) เคลวินเขียนย่อ K (Kelvin) และองศาฟาเรนไฮต์เขียนย่อว่า °F (Fahrenheit) เทอร์โมมิเตอร์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเพื่อตรวจสอบกระบวนการในอุตุนิยมวิทยาการแพทย์และในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

เทอร์โมคัปเปิลและเครื่องวัดอุณหภูมิ

เทอร์โมคัปเปิลและเครื่องวัดอุณหภูมิ

เทอร์โมคัปเปิลเป็นเซ็นเซอร์สำหรับการวัดวัดอุณหภูมิที่มีประโยชน์อย่างยิ่งและถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางโดยทั่วไปมักใช้ในสภาพแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและงานด้านวิศวกรรมที่หลากหลาย ด้วยขนาดที่เล็กและเวลาตอบสนองที่รวดเร็วทำให้สามารถใช้งานได้ในทุกรูปแบบในขณะที่ให้คุณสมบัติในการวัดอุณหภูมิที่สูงมากได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ (ช่วง 270 ถึง 2,500 องศาเซลเซียสขึ้นอยู่กับชนิด Type) เทอร์โมคัปเปิลมีประสิทธิภาพสูงและคุ้มค่ามาก เทอร์โมคัปเปิลประเภทต่างๆ มักกำหนดด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษเช่น J, K, L, N หรือ T มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกัน บางประเภทได้รับการออกแบบโดยใช้วัสดุเฉพาะเพื่อให้ทนต่ออุณหภูมิสูงสุดและสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ในขณะที่ชนิดอื่นมีความทนทานน้อยกว่า ราคาถูกกว่าในการผลิตและมีไว้สำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงน้อยกว่า

วิธีใช้เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น

รู้จักอุปกรณ์ตัววัดอุณหภูมิ-ความชื้น

ในทางวิทยาศาสตร์แทบจะไม่มีพารามิเตอร์การวัดที่สำคัญไปกว่าอุณหภูมิ เราต้องกับอุณหภูมิเป็นประจำทุกวัน อุณหภูมิหมายถึงระดับพลังงานของสสารซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสสารนั้น อย่างไรก็ตามต้องใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิเพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์และได้ค่าเชิงตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบได้ คุณจะพบเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิหรือเทอร์มอมิเตอร์แบบดิจิตอลที่แตกต่างกันเพื่อวัตถุประสงค์นั้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานเฉพาะ

เทอร์โมคัปเปิ้ล

รู้จักเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) คืออะไร

เทอร์โมคัปเปิลคือเซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ เซ็นเซอร์นี้ประกอบด้วยสายโลหะที่แตกต่างกันสองเส้นต่อเข้าที่ปลายด้านหนึ่งและเชื่อมต่อกับเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบเทอร์โมคัปเปิลหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้เทอร์โมคัปเปิลอื่นๆ ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง เมื่อกำหนดค่าอย่างถูกต้องเทอร์โมคัปเปิลสามารถวัดอุณหภูมิได้ในช่วงอุณหภูมิที่สูงได้

Anemometer เครื่องมือวัดลม

รู้จัก Anemometer เครื่องมือวัดลม

Anemometer หรือเครื่องมือวัดความเร็วของลมซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรววัดความเร็วหรือความเร็วของก๊าซ ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจสอบสภาพอากาศที่ใช้ในการวัด อีกทั้งยังใช้ในงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อวัดอัตราการไหลของลม CFM CMM ในงานด้านระบบปรับอากาศ HVAC (Heating Ventilation and Air Conditioning)

วิธีการใช้เครื่องวัดความเร็วลม

วิธีการใช้เครื่องวัดความเร็วลม

แอนนิโมมิเตอร์มาตรฐานรุ่นที่เรียบง่ายและมีใบพัดที่ยื่นออกมาซึ่งออกแบบมาเพื่อนำลมผ่านช่องอากาศและหมุนใบพัดลม จากนั้นเครื่องมือวัดจะแสดงความเร็วไปยังจอแสดงผลของอุปกรณ์ โดยทั่วไปแล้วเครื่องวัดลมแบบมือถือจะมีปุ่มที่ใช้ในการแปลี่ยนหน่วยการวัดเป็น mph, Km/h, m/s, ft/min และ Knots ในบางรุ่นสามารถวัดอุณหภูมิและความชื้นได้อีกด้วย อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความเร็วของก๊าซเช่นการไหลของอากาศในท่อหรือในการไหลของลมในบรรยากาศ การใช้เครื่องวัดในสถานการณ์ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความเร็ว ทิศทางของลม อัตราการไหลของลม CFM CMM อุปกรณ์นี้มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างสูง หรือการศึกษาผลกระทบของลมการใช้เครื่องมือนี้มีประโยชน์อย่างมาก

ประโยชน์ของเครื่องวัดความเร็วลม

ประโยชน์ของเครื่องวัดความเร็วลม

เครื่องมือวัดความเร็วของลมถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจความเร็วลม ความดันลม ทิศทางลมและการไหลของลม แอนนิโมมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดสำหรับสถานีภูมิอากาศทั่วไป การประมาณความเร็วของลมเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการพิจารณาความคาดหวังจากสภาพอากาศ

การวัดความเร็วลม

การวัดความเร็วลมและอุปกรณ์ยอดนิยม

การวัดลมเป็นสิ่งที่ผู้ใช้หลายคนคิดว่าเป็นการใช้งานกลางแจ้ง อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว Anemometer ยังถูกใช้สำหรับการวัดในห้อง อีกทั้งระบบระบายอากาศยังขึ้นอยู่กับการไหลของลม อุณหภูมิและความชื้น หากค่าเหล่านี้ไม่ถูกต้องหรือเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร ปัญหาคือการควบคุมระบบระบายอากาศไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป เครื่องมือวัดที่ใช้ตรวจลมเรียกว่าแอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดแรงลมและความเร็ว มีหลายชนิดตามการออกแบบของนักวิทยาศาสตร์ แต่ละชนิดมีข้อดี ข้อเสียขึ้นอยูกกับการใช้งาน

เครื่องมือวัด CMM และ CFM

เครื่องมือวัด CMM และ CFM

เครื่องมือวัดความเร็วของลมสำหรับการวัดค่าอัตราการไหล CMM และ CFM เป็นเครื่องมือวัดที่อำนวยความสะดวกในการวัดสำหรับงานด้านระบบปรับอากาศ Heating ventilation and air conditioning (HVAC) ช่วยลดการคำนวณที่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย CFM ย่อมาจาก Cubic Feet per Minute และ CMM ย่อมาจาก Cubic Meters per Minute ซึ่ง CMM คือหน่วยมาตรฐาน SI ของอัตราการไหลเชิงปริมาตรซึ่งนิยมใช้สำหรับการไหลของน้ำโดยเฉพาะในแม่น้ำ และงานด้านระบบปรับ (HVAC) ที่วัดการไหลของอากาศ

Showing 251–275 of 331 results

ติดต่อ บริษัท นีโอนิคส์ โทร 098-479-5684 หรือ 061-8268939 Line ID: @neonics Email:sale@neonics.co.th