เทอร์โมคัปเปิลและเครื่องวัดอุณหภูมิ

เทอร์โมคัปเปิลและเครื่องวัดอุณหภูมิ

เทอร์โมคัปเปิลเป็นเซ็นเซอร์สำหรับการวัดวัดอุณหภูมิที่มีประโยชน์อย่างยิ่งและถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางโดยทั่วไปมักใช้ในสภาพแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและงานด้านวิศวกรรมที่หลากหลาย ด้วยขนาดที่เล็กและเวลาตอบสนองที่รวดเร็วทำให้สามารถใช้งานได้ในทุกรูปแบบในขณะที่ให้คุณสมบัติในการวัดอุณหภูมิที่สูงมากได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ (ช่วง 270 ถึง 2,500 องศาเซลเซียสขึ้นอยู่กับชนิด Type) เทอร์โมคัปเปิลมีประสิทธิภาพสูงและคุ้มค่ามาก เทอร์โมคัปเปิลประเภทต่างๆ มักกำหนดด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษเช่น J, K, L, N หรือ T มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกัน บางประเภทได้รับการออกแบบโดยใช้วัสดุเฉพาะเพื่อให้ทนต่ออุณหภูมิสูงสุดและสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ในขณะที่ชนิดอื่นมีความทนทานน้อยกว่า ราคาถูกกว่าในการผลิตและมีไว้สำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงน้อยกว่า

วิธีใช้เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น

รู้จักอุปกรณ์ตัววัดอุณหภูมิ-ความชื้น

ในทางวิทยาศาสตร์แทบจะไม่มีพารามิเตอร์การวัดที่สำคัญไปกว่าอุณหภูมิ เราต้องกับอุณหภูมิเป็นประจำทุกวัน อุณหภูมิหมายถึงระดับพลังงานของสสารซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสสารนั้น อย่างไรก็ตามต้องใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิเพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์และได้ค่าเชิงตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบได้ คุณจะพบเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิหรือเทอร์มอมิเตอร์แบบดิจิตอลที่แตกต่างกันเพื่อวัตถุประสงค์นั้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานเฉพาะ

เทอร์โมคัปเปิ้ล

รู้จักเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) คืออะไร

เทอร์โมคัปเปิลคือเซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ เซ็นเซอร์นี้ประกอบด้วยสายโลหะที่แตกต่างกันสองเส้นต่อเข้าที่ปลายด้านหนึ่งและเชื่อมต่อกับเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบเทอร์โมคัปเปิลหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้เทอร์โมคัปเปิลอื่นๆ ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง เมื่อกำหนดค่าอย่างถูกต้องเทอร์โมคัปเปิลสามารถวัดอุณหภูมิได้ในช่วงอุณหภูมิที่สูงได้

Anemometer เครื่องมือวัดลม

รู้จัก Anemometer เครื่องมือวัดลม

Anemometer หรือเครื่องมือวัดความเร็วของลมซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรววัดความเร็วหรือความเร็วของก๊าซ ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจสอบสภาพอากาศที่ใช้ในการวัด อีกทั้งยังใช้ในงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อวัดอัตราการไหลของลม CFM CMM ในงานด้านระบบปรับอากาศ HVAC (Heating Ventilation and Air Conditioning)

วิธีการใช้เครื่องวัดความเร็วลม

วิธีการใช้เครื่องวัดความเร็วลม

แอนนิโมมิเตอร์มาตรฐานรุ่นที่เรียบง่ายและมีใบพัดที่ยื่นออกมาซึ่งออกแบบมาเพื่อนำลมผ่านช่องอากาศและหมุนใบพัดลม จากนั้นเครื่องมือวัดจะแสดงความเร็วไปยังจอแสดงผลของอุปกรณ์ โดยทั่วไปแล้วเครื่องวัดลมแบบมือถือจะมีปุ่มที่ใช้ในการแปลี่ยนหน่วยการวัดเป็น mph, Km/h, m/s, ft/min และ Knots ในบางรุ่นสามารถวัดอุณหภูมิและความชื้นได้อีกด้วย อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความเร็วของก๊าซเช่นการไหลของอากาศในท่อหรือในการไหลของลมในบรรยากาศ การใช้เครื่องวัดในสถานการณ์ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความเร็ว ทิศทางของลม อัตราการไหลของลม CFM CMM อุปกรณ์นี้มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างสูง หรือการศึกษาผลกระทบของลมการใช้เครื่องมือนี้มีประโยชน์อย่างมาก

ประโยชน์ของเครื่องวัดความเร็วลม

ประโยชน์ของเครื่องวัดความเร็วลม

เครื่องมือวัดความเร็วของลมถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจความเร็วลม ความดันลม ทิศทางลมและการไหลของลม แอนนิโมมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดสำหรับสถานีภูมิอากาศทั่วไป การประมาณความเร็วของลมเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการพิจารณาความคาดหวังจากสภาพอากาศ

การวัดความเร็วลม

การวัดความเร็วลมและอุปกรณ์ยอดนิยม

การวัดลมเป็นสิ่งที่ผู้ใช้หลายคนคิดว่าเป็นการใช้งานกลางแจ้ง อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว Anemometer ยังถูกใช้สำหรับการวัดในห้อง อีกทั้งระบบระบายอากาศยังขึ้นอยู่กับการไหลของลม อุณหภูมิและความชื้น หากค่าเหล่านี้ไม่ถูกต้องหรือเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร ปัญหาคือการควบคุมระบบระบายอากาศไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป เครื่องมือวัดที่ใช้ตรวจลมเรียกว่าแอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดแรงลมและความเร็ว มีหลายชนิดตามการออกแบบของนักวิทยาศาสตร์ แต่ละชนิดมีข้อดี ข้อเสียขึ้นอยูกกับการใช้งาน

เครื่องมือวัด CMM และ CFM

เครื่องมือวัด CMM และ CFM

เครื่องมือวัดความเร็วของลมสำหรับการวัดค่าอัตราการไหล CMM และ CFM เป็นเครื่องมือวัดที่อำนวยความสะดวกในการวัดสำหรับงานด้านระบบปรับอากาศ Heating ventilation and air conditioning (HVAC) ช่วยลดการคำนวณที่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย CFM ย่อมาจาก Cubic Feet per Minute และ CMM ย่อมาจาก Cubic Meters per Minute ซึ่ง CMM คือหน่วยมาตรฐาน SI ของอัตราการไหลเชิงปริมาตรซึ่งนิยมใช้สำหรับการไหลของน้ำโดยเฉพาะในแม่น้ำ และงานด้านระบบปรับ (HVAC) ที่วัดการไหลของอากาศ

CMM และ CFM คือ

รู้จัก CMM และ CFM

CFM ย่อมาจาก Cubic Feet per Minute และ CMM ย่อมาจาก Cubic Meters per Minute ซึ่ง CMM คือหน่วยมาตรฐาน SI ของอัตราการไหลเชิงปริมาตรซึ่งนิยมใช้สำหรับการไหลของน้ำโดยเฉพาะในแม่น้ำ และงานด้านระบบปรับ (HVAC) ที่วัดการไหลของอากาศ

เครื่องวัดความเร็วลมคือ

รู้จักเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer)

แอนนิโมมิเตอร์หรือ (Anemometer) เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้ในการวัดความเร็วของลมหรือความเร็วของก๊าซเช่นการไหลของอากาศในท่อหรือในการไหลที่ไม่มีทิศทางเช่นลมในบรรยากาศ เครื่องมือวัดนี้ใช้ในการวัดความเร็วของลมและการไหลของลม CFM CMM และ CMS เครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับวิศวกร ช่างเทคนิคหรือผู้ออกแบบระบบปรับอากาศ HVAC

เครื่องมือวัด (Measurement tools)

เครื่องมือวัดสำหรับอุตสาหกรรม (Measurement tools)

เครื่องมือวัด (Measurement tools) คือเครื่องมือสำหรับการวัด ใช้ในการวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่นระยะทาง เส้นผ่านศูนย์กลาง ความลึกเป็นต้น ฯลฯ ค่าต่างๆเหล่านี้เป็นพารามิเตอร์ทางวิศวกรรมที่สำคัญซึ่งอธิบายถึงสภาพของเครื่องจักรที่ใช้งานได้ เครื่องมือวัดทั้งหมดขึ้นอยู่กับระดับความผิดพลาดของเครื่องมือและความไม่แน่นอนในการวัดที่แตกต่างกัน

เครื่องมือวัด

เครื่องมือวัดที่จำเป็นสำหรับช่างและงานอุตสาหกรรม

เครื่องมือวัดประเภทต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการวัดระยะทาง ขนาด มุม แรงดันน้ำ อุณหภูมิ เวลาและอื่นๆ ให้คุณลองย้อนเวลาและจินตนาการถึงโลกที่ไม่มีเครื่องมือวัด คนในสมัยโบราณใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อวัดขนาดของสิ่งต่างๆ นิ้วคือความกว้างของนิ้วหัวแม่มือของผู้ชาย ชาวอียิปต์วัดศอกเท่ากับระยะห่างจากข้อศอกถึงปลายนิ้ว นี่คือวิธีที่พวกเขาวัดและสร้างพีระมิด

ความเร็วลมและหน่วยการวัด

ความเร็วลมคืออะไรและหน่วยการวัดลม

ความเร็วลมคือการเคลื่อนที่ของอากาศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในสภาพแวดล้อมภายนอก แต่ความเร็วของการเคลื่อนที่ของอากาศภายในก็มีความสำคัญในหลายๆ กรณีเช่นการพยากรณ์อากาศ เครื่องบินและการเดินเรือ การก่อสร้างและวิศวกรรมโยธา ความเร็วลมสูงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์และลมแรงมักมีชื่อพิเศษได้แก่พายุเฮอริเคนและพายุไต้ฝุ่น ความเร็วลมสูงสุดที่เคยวัดได้บนโลก 407 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ความหมายของความเป็นกรด-ด่าง

ความหมายของความเป็นกรด-ด่าง (เบส) คือ

เป็นเวลาหลายร้อยปีที่ผู้คนรู้จักน้ำส้มสายชู น้ำมะนาวและอาหารอื่นๆ ที่มีรสเปรี้ยว อย่างไรก็ตามเมื่อถูกค้นพบว่าทำไมสิ่งเหล่านี้จึงมีรสเปรี้ยวนั่นเพราะความเป็นกรดนั่นเอง ในความเป็นจริงแล้วคำว่ากรด (Acid) มาจากคำภาษาละตินซึ่งแปลว่า “เปรี้ยว sour” ต่อมาในศตวรรษที่สิบเจ็ดนักเขียนชาวไอริชและนักเคมีสมัครเล่น Robert Boyle ได้ติดฉลากสารเป็นกรดหรือเบสเป็นครั้งแรก

วิธีใช้ pH meter สำหรับวัดค่ากรด-ด่าง

วิธีใช้ pH meter สำหรับวัดค่ากรด-ด่าง

อ่านคู่มือการใช้งานเนื่องจากเครื่องวัด pH แต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปประกอบด้วยเครื่องวัดค่า pH และหัววัด Electrode ขั้นตอนการใช้งานในเบื้องต้นมีดังนี้

หลักการทำงานของ pH meter

หลักการทำงานของ pH meter

เครื่องวัดค่าพีเอชมีหลักการทำงานโดยวัดความเป็นกรดหรือด่างของสารละลาย pH คือความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนในสารละลาย สารละลายที่มี H + ไอออนมากกว่าจะยังคงเป็นกรดในขณะที่สารละลายที่มี OH- มากกว่าจะยังคงเป็นด่างค่า pH ของสารละลายมีตั้งแต่ 1 ถึง 14 เครื่องวัดค่า pH จะมีหัววัด Electrode เพื่อวัดความต่างของศักย์ไฟฟ้าในหน่วย mV (มิลลิโวลท์) ระหว่างหัววัด pH และหัววัดอ้างอิงและความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าเกี่ยวข้องกับความเป็นกรดหรือเบส เนื่องจากหัววัดหลอดแก้วบางๆ ช่วยให้การวัดอิออนไฮโดรเจนได้มากขึ้น อิเล็กโทรดแก้วจะวัดค่าศักย์ไฟฟ้าเคมีของไฮโดรเจนไอออน

ค่า pH หรือค่าความเป็นกรดด่าง

รู้จักค่า pH หรือค่าความเป็นกรดด่างคืออะไร

ค่า pH ของน้ำหรือสารละลายคือค่าความเป็นกรดด่างของน้ำซึ่งโมเลกุลของน้ำจะสามารถแยกออกเป็นไฮโดรเจนไอออน (H +) และไฮดรอกไซด์ไอออน (OH−) ไฮโดรเจนไอออนนั้นมีสภาพเป็นกรดและไอออนของไฮดรอกไซด์นั้นเป็นเบส ดังนั้น pH คือการวัดจำนวนของไฮโดรเจนหรือไฮดรอกไซด์ไอออนในสารละลาย ยิ่งไฮโดรเจนไอออนมีปริมาณมากน้ำหรือสารละลายยิ่งมีความเป็นกรดมากขึ้น เช่นเดียวกันถ้าน้ำหรือสารละลายมีไฮดรอกไซด์ไอออนมากยิ่งมีความเป็นเบสมากนั่นเอง

แนะนำรู้จัก pH meter คือ

pH meter คือเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช pH)

เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการหาค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย ค่า pH คือความเข้มข้นของไอออนไฮโดรเจนในสารละลาย สารละลายที่มี H+ ไอออนมากกว่าจะยังคงเป็นกรดในขณะที่สารละลายที่มี OH มากกว่าจะยังคงเป็นด่าง ค่า pH ของสารละลายมีตั้งแต่ 1 ถึง 14 เครื่องวัดค่าพีเอชเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยโพรบวัดพิเศษ (อิเล็กโทรดแก้ว) ซึ่งติดอยู่กับตัวเครื่องวัดอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงค่า pH เป็นจุดทศนิยม เครื่องวัดค่า pH จะต้องสอบเทียบก่อนที่จะใช้งานกับสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน

ความสำคัญของค่า pH

ความสำคัญของค่า pH

ค่า pH เป็นปริมาณที่สำคัญที่สะท้อนถึงสภาพทางเคมีของสารละลาย โดยค่า pH มีผลทางชีวภาพกิจกรรมของจุลินทรีย์และพฤติกรรมของสารเคมี ด้วยเหตุนี้การตรวจสอบหรือควบคุมค่า pH ของดินน้ำและผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มจึงมีความสำคัญสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย การตรวจสอบค่า pH ทำได้หลายวิธีได้แก่ใช้กระดาษลิตมัสหรือเครื่องวัดกรด-ด่างเพื่อผลการวัดค่า pH ที่แม่นยำและถูกต้อง น้ำที่มีค่า pH ต่ำหรือสูงเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ น้ำที่ค่า pH ต่ำโลหะมีพิษเช่นอลูมิเนียมสามารถละลายเข้าไปในน้ำในระดับความเข้มข้นที่มากขึ้นสารเคมีเช่นไนโตรเจนจะมีพิษมากขึ้นและกระบวนการเมตาบอลิซึมของปลาจะมีประสิทธิภาพน้อยลง น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5 สามารถยับยั้งการสืบพันธุ์ และอาจทำให้ปลาตายได้ น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 6.5 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของปลาได้

ค่า ph คือ

รู้จักค่า ph คือความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย ของเหลวและน้ำ

ค่า pH คือการวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนซึ่งเป็นการวัดความป็นกรด-ด่างหรือเบสของสารละลาย ของเหลวหรือน้ำ โดยที่ระดับ pH มักจะอยู่ในช่วง 0 ถึง 14 โดยของเหลวที่มีค่า pH น้อยกว่า 7 จะมีสภาพเป็นกรด ของเหลวหรือน้ำที่มีค่า pH มากกว่า 7 จะเป็นด่างหรือเบส ส่วนระดับค่า pH ที่ 7.0 หมายถึง “เป็นกลาง” โดยมีความเป็นไปได้ถ้าของเหลวมีความเป็นกรดรุนแรงจะมีค่า pH ที่ต่ำกว่า 0 และถ้าของเหลวมีความเป็นด่างสูงจะมีค่า pH ที่มากกว่า 14

ความชื้นสัมพัทธ์คือ

ความชื้นสัมพัทธ์คือ (Relative Humidity)

ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) คืออัตราส่วนของความชื้นสัมบูรณ์ต่อความชื้นสัมบูรณ์ที่เป็นไปได้สูงสุด (ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศปัจจุบัน) การอ่านค่าความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์หมายความว่าอากาศเต็มไปด้วยไอน้ำและไม่สามารถกักเก็บน้ำหรือไอน้ำได้อีก ซึ่งที่ความชื้นสัมพัทธ์ 100% RH ทำให้เกิดฝนได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าความชื้นสัมพัทธ์จะต้องเป็น 100 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้ฝนตก

ความชื้นคืออะไร

ความชื้นคืออะไร

โดยทั่วไปผู้คนมักสับสนในคำศัพท์ “ความชื้น” โดยทั่วไปแบ่งได้เป็นความชื้นอากาศ (Humidity) และความชื้นวัสดุ (Moisture) เพราะเนื่องจากคำศัพท์ในภาษาไทยมีเพียงคำเดียวโดยทั่วไปเราหมายถึงถึงสภาพอากาศ และยังมีความหมายได้แก่ปริมาณน้ำในวัสดุต่างๆ เช่นไม้ชื้น อาหารและเมล็ดพันธ์พืชเป็นต้นซึ่งคือความชื้นของวัสดุ โดยที่ทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกันโดยตรง

หน่วยของความชื้น (Unit of Humidity)

ไม่มีหน่วย SI อย่างเป็นทางการสำหรับการวัดความชื้น โดยที่ความชื้นหมายถึงอัตราส่วนระหว่างความดันไอของไอน้ำในอากาศต่อความดันไอที่ความอิ่มตัว จะแสดงในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อย่างไรก็ตาม เราแบ่งความชื้นได้หลายชนิดและมีหน่วยการวัดดังต่อไปนี้

ความชื้นในอากาศ (Air Humidity)

ความชื้นในอากาศ (Air Humidity)

ความชื้นคือความเข้มข้นของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ ยิ่งน้ำระเหยมากเท่าไหร่ความชื้นในอากาศมากขึ้นเท่านั้นและความชื้นในบริเวณนั้นก็ยิ่งสูงขึ้น สถานที่ร้อนมักจะชื้นมากกว่าสถานที่เย็นเพราะความร้อนทำให้น้ำระเหยได้เร็วขึ้น ความชื้นหมายถึงโอกาสที่จะเกิดฝน น้ำค้างหรือหมอก ปริมาณของไอน้ำที่จำเป็นต่อการเพิ่มความอิ่มตัวเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดลงมันจะไปถึงจุดอิ่มตัวในที่สุดโดยไม่ต้องเพิ่มหรือสูญเสียมวลน้ำ ปริมาณของไอน้ำในอากาศอาจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

ความชื้นในวัสดุและอาหาร

ความชื้นในวัสดุและอาหาร (Moisture Content)

การทดสอบหาปริมาณความชื้นในวัสดุเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องจากความชื้นมีผลต่อคุณภาพการผลิต การจัดส่งสินค้า การจัดเก็บหรือจำหน่ายสินค้า จากประสบการณ์กับการตรวจสอบความชื้นในวัสดุจำนวนมาก การวิเคราะห์ปริมาณความชื้นเป็นองค์ประกอบสำคัญของคุณภาพของวัสดุและเป็นหน้าที่ของการควบคุมคุณภาพในโรงงานผลิตและห้องปฏิบัติการ องค์กรวิจัยทางชีววิทยา ผู้ผลิตยา ผู้ผลิตอาหารและผู้บรรจุหีบห่อ การควบคุมปริมาณความชื้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางกายภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์และวัสดุเกือบทั้งหมดในทุกขั้นตอนของการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย

Showing 276–300 of 339 results

ติดต่อ บริษัท นีโอนิคส์ โทร 098-479-5684 หรือ 061-8268939 Line ID: @neonics Email:sale@neonics.co.th