ทุกคนใช้เทอร์โมมิเตอร์สำหรับการวัดอุณหภูมิไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หลายคนจึงสงสัยว่าถึงประเภทต่างๆ ของเครื่องวัด วันนี้เราจะอธิบายประเภทและชนิดของเทอร์มอมิเตอร์ชนิดต่างๆ และการใช้งานในเบื้องต้น
หลักการของทำงานคือการวัดอุณหภูมิของสิ่งต่างๆ เพื่อรับรู้ข้อมูลอุณหภูมิเช่นหากคุณวัดอุณหภูมิอากาศภายในห้อง คุณจะทราบทันทีว่าจะต้องเปิดเครื่องปรับอากาศหรือไม่ หากคุณวัดอุณหภูมิร่างกายคุณจะพบว่าคุณเป็นไข้หรือไม่ ที่กล่าวมาเป็นการวัดในชีวิตประจำวัน
นอกเหนือจากนั้นการวัดอุณหภูมิยังถูกใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และกระบวนการผลิตเพื่อวัดอุณหภูมิของโลหะ ของเหลว ก๊าซและวัสดุอื่นๆ และยังสามารถวัดอุณหภูมิอาหารขณะทำอาหาร เครื่องวัดมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับขอบเขตการใช้งานและกลไกที่เกี่ยวข้อง เราจะบอกคุณเกี่ยวกับเครื่องวัดแบบทั่วไป นอกจากนี้คุณจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเทอร์โมมิเตอร์ชนิดต่างๆ ที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย
เครื่องมือวัดอุณหภูมิชนิดต่างๆ
เทคโนโลยีปัจจุบันมีการรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันสามารถวัดได้อย่างแม่นยำและสามารถเปลี่ยนหน่วยได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการคำนวณใดๆ สำหรับการวัดอุณหภูมิซึ่งมีหลายชนิด ซึ่งบางชนิดวัดอุณหภูมิจากการสัมผัสกับวัตถุ บางชนิดวัดจากรังสีอินฟราเรด (รังสีความร้อน)
ดังนั้นการเลือกตัววัดอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน ช่วงการวัดอุณหภูมิที่ต้องการ ความแม่นยำและรายละเอียดปลีกย่อยเช่นการบันทึกข้อมูล หน่วยความจำภายในเป็นต้น รายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นเครื่องมือวัดที่ได้รับความนิยมดังรายละเอียดด้านล่าง
อุปกรณ์วัดอุณหภูมิรุ่นแนะนำ
เครื่องวัดอุณหภูมิมีกี่ประเภทสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้
เราแบ่งประเภทออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่เครื่องวัดสำหรับอุตสาหกรรม และเครื่องวัดสำหรับด้านการแพทย์ ดังต่อไปนี้
1.สำหรับการแพทย์วัดอุณหภูมิร่างกาย วัดไข้
1.1) อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ทางด้านการแพทย์
หลักการทำงานเหมือนกับเครื่องวัดอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรม แต่มีออกแบบมาเพื่อการวัดอุณหภูมิร่างกาย วัดไข้โดยเฉพาะ เครื่องวัดกลุ่มนี้มีความแม่นยำสูง ±0.3 ℃ สามารถบอกอุณหภูมิได้จากระยะไกลทำให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์มีความปลอดภัยและเสี่ยงต่อการติดโรคลดน้อยลง (ห้ามนำเครื่องวัดแบบอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรมมาใช้ด้านการแพทย์โดยเด็ดขาด เนื่องจากความแม่นยำเทียบไม่ได้กับเครื่องวัดด้านการแพทย์)
กรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดด้านการแพทย์ ควรสอบถามผู้จำหน่ายถึงการมีใบอนุญาติจาก อย (และเนื่องจาก อ.ย ไม่อนุญาติให้มีการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ คุณอาจต้องสอบถามผู้จำหน่ายหลังไมค์) เป็นต้น มีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิทางการแพทย์หลายชนิดแต่ที่แนะนำได้แก่เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก (Forehead thermometer) ซึ่งสามารถสแกนอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็วและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากการเข้าใกล้และเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟราเรด
1.2) แถบอุณหภูมิ (Temperature strips)
มักใช้ในโรงพยาบาลเพื่อกำหนดอุณหภูมิของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว แถบเหล่านี้มีผลึกเหลวที่ตอบสนองต่อความร้อนโดยการเปลี่ยนสี แต่ละสีสอดคล้องกับอุณหภูมิของร่างกาย วัดไข้ได้อย่างรวดเร็ว แต่มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด
มีกระบวนการทางเคมีที่ซับซ้อนอยู่เบื้องหลังวิธีการทำงานของแถบวัดอุณหภูมิ แต่หลักการเหล่านี้ได้รับการออกแบบอย่างเรียบง่าย มีองค์ประกอบที่ไวต่ออุณหภูมิอยู่ภายใต้ชั้นป้องกันที่โปร่งใส แถบวัดอุณหภูมิประกอบด้วยส่วนผสมของสารเคมีที่แตกต่างกันซึ่งผลิตบนพื้นผิวกระดาษดูดซับพิเศษ หากถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้และปฏิกิริยาทางเคมีแสดงโดยการเปลี่ยนสี แถบวัดนี้ยังสามารถนำมาใช้งานในอุตสหกรรมเช่นนำไปติดไว้ที่มอเตอร์และ/หรือเครื่องจักรกลชนิดอื่นๆ เพื่อตรวจติดตามอุณหภูมิได้ง่ายเป็นต้น
1.3) ปรอทวัดไข้ (Mercury-filled thermometers)
ภายในเต็มไปด้วยปรอทในกระเปาะแก้วเป็นเครื่องวัดชนิดหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุด และกำลังจะถูกยกเลิกการใช้งานไปอย่างช้าๆ เนื่องจากความแม่นยำแล้วอาจเป็นอันตรายได้หากแตก หัก ทำให้สารปรอทภายในรั่วออกมาซึ่งเป็นพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อม (มีทั้งแบบดิจิตอลและแบบปรอท)
2. เทอร์โมมิเตอร์สำหรับอุตสาหกรรมแบ่งได้ดังต่อไปนี้
2.1) เครื่องวัดแบบดิจิตอล (Digital thermometer)
เครื่องวัดชนิดนี้เป็นหนึ่งในการพัฒนาล่าสุดในด้านเทคโนโลยี ใช้เซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะใช้ของเหลวหรือก๊าซ มีหน้าจอดิจิตอลซึ่งสามารถแสดงผลการวัดได้ในเวลาไม่กี่วินาที เทอร์มอมิเตอร์แบบดิจิตอลมีเทอร์มิสเตอร์ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและแสดงผลลัพธ์บนหน้าจอ ซึ่งเครื่องวัดประเภทนี้จะมีความแม่นยำสูงและตอบสนองอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิห้อง ตู้เย็นเป็นต้น
2.2) เครื่องวัดแบบอินฟราเรด (Infrared thermometer)
การวัดอุณหภูมิทั้งหมดที่เรากล่าวถึงข้างต้นจำเป็นต้องมีการสัมผัสเพื่อวัดค่าอุณหภูมิ แต่เครื่องวัดชนิดนี้ใช้รังสีอินฟราเรดหรือความร้อนที่วัตถุปล่อยออกมาเพื่อแสดงค่าอุณหภูมิ ซึ่งหมายความว่าสามารถบอกอุณหภูมิได้จากระยะไกล บางคนเรียกเครื่องวัดชนิดนี้ว่า “ปืนวัดอุณหภูมิ” เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแบบพกพาและดูเหมือนปืนขนาดเล็ก เครื่องวัดชนิดนี้เหมาะสำหรับอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ การทำอาหารเป็นต้น (เครื่องวัดชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับด้านการแพทย์วัดไข้ วัดอุณหภูมิร่างกาย มีเครื่องวัดแบบอินฟราเรดสำหรับการแพทย์โดยเฉพาะ)
2.3) สำหรับวัดอุณหภูมิอาหาร (Food Thermometer)
เครื่องมือวัดอุณหภูมิอาหารชนิดนี้มีหัววัดลักษณะปลายแหลมทำจากสแตนเลสคุณภาพสูงไม่เป็นสนิม ทำให้เหมาะสำหรับการวัดในอุตสาหกรรมอาหารและเป็นเครื่องวัดที่ได้ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP เป็นต้น
2.4) เทอร์โมสแกน (กล้องถ่ายภาพความร้อน)
เครื่องวัดเทอร์โมสแกนชนิดนี้จะแสดงค่าพลังงานความร้อนเป็นภาพแสงที่ตามองเห็นได้เพื่อการวิเคราะห์อุณหภูมิ อุปกรณ์นี้มีความแม่นยำสูงโดยใช้ความร้อนเพียงเล็กน้อยในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับงานด้านอุตสาหกรรม ซ่อมบำรุงด้านไฟฟ้า เครื่องจักรกล และการตรวจหารอยรั่วของน้ำในผนังที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้
2.5) แบบมานอเมตริก (Manometric thermometers)
เครื่องวัดประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันในนามวัดแรงดันหรือไอน้ำ สามารถวัดอุณหภูมิตามการเปลี่ยนแปลงของความดันภายในก๊าซหรือของเหลว เหมาสำหรับการวัดอุณหภูมิในก๊าซแอลกอฮอล์ คลอโรมีเทนและของเหลวอื่นๆ
2.6) แบบกระเปาะแก้ว (Liquid-in-glass thermometer)
เป็นชนิดที่เก่าแก่ที่สุดและพบได้บ่อย ถูกใช้เกือบทุกที่และหลักการทำงานนั้นง่ายมาก เครื่องวัดชนิดนี้ประกอบด้วยหลอดแก้วที่เต็มไปด้วยของเหลวที่เป็นแอลกอฮอล์หรือปรอท เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปของเหลวจะขยายตัวหรือหดตัว และขีดเส้นระดับอุณหภูมิเป็นไปได้เพื่อกำหนดค่าอุณหภูมิ เครื่องวัดชนิดนี้มีความแม่นยำต่ำไม่เหมาะสำหรับการวัดที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงถูกใช้ในการวัดแบบทั่วไปเช่นวัดอุณหภูมิห้อง อากาศ และใส่ไว้ในตู้เย็นเป็นต้น
2.7)ไบเมทัล (Bimetal thermometer)
เครื่องวัดประเภทนี้เหมาะสำหรับช่างหรืองานด้านอุตสาหกรรม หลักการทำงานทำจากโลหะสองชนิดที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิต่างกันและทำให้เกิดการบิดงอที่ต่างกันเพื่อใช้ในการกำหนดค่าอุณหภูมิ เครื่องวัดแบบไบเมทัลนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับวัดอุณหภูมิที่มีค่าสูงๆ ประมาณ 60°C ขึ้นไปเนื่องจากการตอบสนอบที่รวดเร็ว แต่จะแม่นยำน้อยที่อุณหภูมิต่ำๆ สามารถพบเครื่องวัดชนิดนี้ได้ในเครื่องใช้ในครัวเรือนจำนวนมากเช่นเตาอบเป็นต้น
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยและการวัดอุณหภูมิ
อุณหภูมิห้อง (Room Temperature) คืออะไร
เข้าใจนิยามของอุณหภูมิห้อง (Room Temperature) และค่ามาตรฐานสำหรับอุณหภูมิห้อง งานด้านวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์และกระบวนการบางอย่างในอุตสาหกรรม และการจัดเก็บสินค้าอุปโภคบริโภคตัวอย่างเช่นสำหรับการขนส่ง การเก็บรักษาเภสัชตำรับยา
อุณหภูมิร่างกายปกติผู้ใหญ่เท่าไร กี่องศา?
ค่าปกติอุณหภูมิร่างกายจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนต่างๆ ในร่างกายมีอุณหภูมิที่ต่างกันดังนั้นเป็นทางเลือกที่ถูกต้องของการเลือกเครื่องวัดดังข้อมูลเราแสดงวิธีการวัด อุณหภูมิร่างกายของคุณอย่างถูกต้องและความแม่นยำ มีความน่าเชื่อถือจากผลการวัด
เอกสารรับรองการสอบเทียบเครื่องวัด ISO17025
เครื่องมือวัดทุกชนิดมีค่าความผิดพลาด แต่ค่าผิดพลาดควรมีค่าน้อยในระดับที่ยอมรับได้ และเพื่อยืนยันความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องมือวัด ผู้ใช้งานควรร้องขอเอกสารรับรองการสอบเทียบ Certificate of Calibration จากผู้ผลิต (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) ดังตัวอย่างเอกสารต่อไปนี้
ตัวอย่างเอกสารรับรองการสอบเทียบเครื่องวัด ISO17025
สรุป
1.เข้าใจในชนิดของเทอร์โมวัดอุณหภูมิและประเภทได้ในเบื้องต้น
2.เครื่องวัดมีชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมและด้านการแพทย์ ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
3.ควรสอบถามผู้จำหน่ายเพื่อขอใบรับรอง Certificate of Calibration (อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) เพื่อผลการวัดที่มีความแม่นยำ
4.กรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดด้านการแพทย์ ควรสอบถามการมีใบอนุญาติจาก อย เป็นต้น
0 Comment